homescontents
anadolu escort bostancı escort kadıköy escort
Trbet Canlı Bahis Canlı Bahis Canlı Bahis Canlı Bahis
deneme bonusu veren siteler
hdfilmcehennemi
bonus veren siteler
บทบาทหน้าที่และโครงสร้างกองส่งเสริมวิชาการและคุณภาพการศึกษา
งานพัฒนามาตรฐานการศึกษา
          มีหน้าที่รับผิดชอบ การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับติดตามและสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตร ตั้งแต่การปรับปรุงหลักสูตรการขออนุมัติหลักสูตร และการเปิดสอน การพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษาหลักสูตรทุกหลักสูตร การรับสถาบันการศึกษาอื่นเข้าเป็นสถาบันสมทบ การจัดการศึกษาร่วมกับสถาบันการศึกษาอื่น การจัดการข้อมูลสารสนเทศ  ด้านหลักสูตร การเรียนการสอน และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งออกเป็น ๓ งาน ดังนี้
     ๑. งานพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐาน ดำเนินการเกี่ยวกับ
               (๑) วิเคราะห์ และจัดทำข้อเสนอ นโยบาย แผน และกลไกการพัฒนางานด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถาบันพระบรมราชชนก เสนอสภาวิชาการและสภาสถาบันตามที่กำหนด เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของสถาบัน
               (๒) สนับสนุน ส่งเสริม เป็นที่ปรึกษา ให้วิทยาลัย /คณะ พัฒนาหลักสูตรใหม่/ปรับปรุงหลักสูตรตามวงรอบการปรับปรุงหลักสูตร เพื่อให้ได้หลักสูตรที่ทันสมัย และเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องศึกษาวิเคราะห์บริบทที่เกี่ยวข้อง
               (๓) ตรวจสอบรูปแบบหลักสูตร และกลั่นกรองหลักสูตรเบื้องต้น เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ที่กำหนด ก่อนนำเสนอหลักสูตรต่อสภาวิชาการ และเสนอเพื่อขออนุมัติสภามหาวิทยาลัยตามลำดับขั้นตอน
               (๔) ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตามและให้ข้อเสนอแนะในการนำหลักสูตรไปใช้การบริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานชาติ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาองค์ประกอบ ได้แก่ การกำกับมาตรฐาน บัณฑิต นักศึกษา อาจารย์ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ตลอดระยะเวลาที่มีการจัดการเรียนการสอน
               (๕) วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสภามหาวิทยาลัย ในการพิจารณาเปิดหลักสูตรใหม่ตามความต้องการของประเทศ ระบบสุขภาพและตลาดแรงงาน
               (๖) วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสภามหาวิทยาลัย ในการพิจารณาปิดหลักสูตร ที่ไม่ทันสมัยและไม่เป็นที่ต้องการของประเทศ ระบบสุขภาพและตลาดแรงงาน
               (๗) วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อสภามหาวิทยาลัย ในการพิจารณารับสถาบันการศึกษาอื่นเป็นสถาบันสมทบ การออกจาการรับสถาบันสมทบ การจัดการศึกษาร่วมกับสถาบันอื่น และการให้ความร่วมมือด้านอื่นๆ
               (๘) พัฒนาความร่วมมือและเสริมสร้างเครือข่ายการพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ กับสถาบันอุดมศึกษาอื่น
               (๙) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ หรือที่ได้รับมอบหมาย
     ๒. งานพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ดำเนินการเกี่ยวกับ
               (๑) วิเคราะห์ สังเคราะห์และร่วมพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและ ประเมินผลการศึกษาของวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของระบบสุขภาพ ทั้งภาคทฤษฎี ภาคทดลอง และภาคปฏิบัติ เพื่อให้ได้บัณฑิตพยาบาลตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ และอัตลักษณ์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ตรงตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
               (๒) ส่งเสริม สนับสนุน และให้ข้อเสนอในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ และทักษะตามโครงสร้างหลักสูตรที่กำหนด สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
               (๓) ส่งเสริม สนับสนุนให้วิทยาลัย / คณะ วิเคราะห์เพื่อจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
               (๔) วิเคราะห์ สังเคราะห์และส่งเสริม สนับสนุนในการวางแผนพัฒนาอาจารย์ให้มีทักษะการสอนที่ทันสมัย
               (๕) พัฒนาความร่วมมือและเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ กับสถาบันอุดมศึกษาอื่น
               (๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ หรือที่ได้รับมอบหมาย
     ๓. งานสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจด้านการบริหารหลักสูตร ดำเนินการเกี่ยวกับ
               (๑) วิเคราะห์ สังเคราะห์ และให้ข้อเสนอกับงานเทคโนโลยีดิจิตัล ในการพัฒนาสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ ด้านการบริหารหลักสูตร ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร หรือมาตรฐานชาติที่เกี่ยวข้อง
               (๒) ส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามให้วิทยาลัยบันทึกข้อมูลสารสนเทศการจัดการสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ ด้านการบริหารหลักสูตร การเรียนการสอน เพื่อให้ วิทยาลัย คณะ สภาวิชาการสภามหาวิทยาลัย สามารถใช้สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               (๓) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ หรือที่ได้รับมอบหมาย
งานประกันคุณภาพการศึกษา
          มีหน้าที่รับผิดชอบ ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบและกลไก และเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษา กำกับติดตาม และสนับสนุนให้มีการพัฒนาคุณภาพทั้งด้านการจัดการศึกษา การบริหารจัดการ การประเมินคุณภาพภายใน และงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งออกเป็น ๓ งาน  ดังนี้ 
     ๑.  งานพัฒนามาตรฐานการศึกษา  ดำเนินการเกี่ยวกับ
               (๑) ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนวทาง/หลักเกณฑ์ และพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก ให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
               (๒) พัฒนาเกณฑ์มาตรฐาน ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษา และจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก
               (๓) กำกับ ติดตามการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก
               (๔)  ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการพัฒนาคุณภาพทั้งด้านการจัดการศึกษา การบริหารจัดการ และการประเมินคุณภาพภายใน ของสถาบันพระบรมราชชนก
               (๕) ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ ตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก
               (๖) ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพ รวมทั้งร่วมพัฒนาการดำเนินงานของสถาบันพระบรมราชชนก ให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง                            
               (๗) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถาบันพระบรมราชชนกมีการพัฒนาวิธีการปฏิบัติงานที่ดี (Good Practice) และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) กับสถาบันการศึกษาอื่นๆ
               (๘) กำกับ/ติดตาม และประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก ตามผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอก
     ๒. งานประเมินคุณภาพการศึกษา  ดำเนินการเกี่ยวกับ
               (๑) ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบ/กลไกการประเมินคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ของสถาบันพระบรมราชชนก ให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
               (๒) ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับ ติดตาม การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ ให้เป็นไปตามระบบและกลไกที่กำหนด
               (๓) วิเคราะห์ประสิทธิผลของระบบ/กลไกและผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ในระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน เพื่อวางแผนพัฒนา/ปรับปรุงให้บรรลุเป้าหมายตามพันธกิจของสถาบัน
               (๔) พัฒนา/อบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตามเกณฑ์มาตรฐาน หรือเกณฑ์ขององค์กรวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
               (๕) ดำเนินการเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพ ระดับสถาบัน ทั้งภายในและภายนอก ของสถาบันพระบรมราชชนก ตามวงรอบการประเมิน
               (๖) สรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาในภาพรวม และนำเสนอข้อมูลผลการประเมินคุณภาพ รวมถึงแนวทางการพัฒนาต่างๆ แก่ผู้บริหาร ของสถาบันพระบรมราชชนก
               (๗) ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก
               (๘) เสริมสร้างเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก
     ๓. งานสารสนเทศเพื่อการบริหารและตัดสินใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ดำเนินการเกี่ยวกับ
               (๑) วิเคราะห์ สังเคราะห์ และให้ข้อเสนอกับงานเทคโนโลยีดิจิตัล ในการพัฒนาสารสนเทศเพื่อการบริหาร การตัดสินใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และการประเมินคุณภาพการศึกษา ของสถาบันพระบรมราชชนก  
               (๒) ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับ ติดตามให้หน่วยงานต่างๆ ของสถาบันพระบรมราชชนก บันทึกข้อมูลและจัดการสารสนเทศ เพื่อการบริหาร การตัดสินใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และการประเมินคุณภาพการศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               (๓) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
งานทดสอบทางการศึกษา  ดำเนินการเกี่ยวกับ
               (๑) จัดทำข้อเสนอ นโยบาย แผน และกลไกการพัฒนางานด้านการทดสอบทางการศึกษา เสนอสภาสถาบันที่ได้มาตรฐานให้เป็นไปตามนโยบายของสถาบัน
               (๒) พัฒนาระบบและกลไกของงานทดสอบทางการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก วิธีการทดสอบและเครื่องมือวัดและประเมินผล ตามมาตรฐานการศึกษา
               (๓) พัฒนาข้อสอบเพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีความรู้ตามมาตรฐานที่หลักสูตรกำหนด เช่น ข้อสอบภาษาอังกฤษ
               (๔) จัดทำคลังข้อสอบมาตรฐาน รวมทั้งพัฒนาคลังข้อสอบให้เป็นสารสนเทศด้านข้อสอบ
เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง (E-test) และจัดทำคู่มือที่เกี่ยวข้อง
               (๕) เป็นศูนย์กลางด้านการทดสอบทางการศึกษา เพื่อประเมินทักษะของบัณฑิตในศตวรรษที่ ๒๑
               (๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ หรือที่ได้รับมอบหมาย
บุคลากรของ
 
 

Copyright © 2024 Praboromarajchanok Institute. All rights reserved.